สมาธิสั้นในเด็กแก้ได้ คุณพ่อคุณแม่หายห่วง
คุณพ่อคุณแม่อาจกำลังกลุ้มใจว่าลูกของคุณมีอาการสมาธิสั้น เป็นเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมือนเด็กคนอื่นๆ ซึ่งสร้างความหนักอกหนักใจเป็นอย่างมาก แต่ไม่ต้องกังวลไป โรคสมาธิสั้นในเด็กสามารถแก้ได้ เราลองไปดูกันดีกว่าว่าจะมีวิธีไหนบ้างที่สามารถแก้พฤติกรรมและความคิดของเด็กสมาธิสั้นได้บ้าง
โรคสมาธิสั้น ประกอบด้วยกลุ่มอาการหลัก 3 ด้าน ได้แก่
• พฤติกรรมขาดสมาธิ วอกแวกง่าย เหม่อลอย จดจ่ออะไรนาน ๆ ไม่ได้ ขี้ลืม
• พฤติกรรมซุกซนไม่อยู่นิ่ง เคลื่อนไหวตลอดเวลา ยุกยิก ต้องหาอะไรทำ
• พฤติกรรมขาดความยับยั้งชั่งใจตนเอง ใจร้อน วู่วาม หุนหันพลันแล่น ขาดความระมัดระวังในการทำสิ่งต่าง ๆ
อาการสมาธิสั้นแก้ได้ด้วย :
1. การปรับพฤติกรรมของเด็กสมาธิสั้น ซึ่งพ่อแม่ต้องมีความตั้งใจที่จะร่วมมือกันปรับพฤติกรรมเด็กที่มีอาการสมาธิสั้น
• ใช้การสื่อสารที่สั้น กระชับ ตรงไปตรงมา
• ทำตารางเวลาที่ชัดเจน
• ปรับบรรยากาศการทำการบ้านของเด็กให้สงบ
• ในเด็กที่พลังงานเยอะ ควรหากิจกรรมให้เด็กได้ทำในแต่ละวัน
• จำกัดการดู มือถือหรือโทรทัศน์
• ชื่นชมในสิ่งที่เด็กทำได้ดี
• พ่อแม่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กในเรื่องของความมีระเบียบวินัย
2. การรักษาโรคสมาธิสั้นด้วยยา ยาที่สามารถใช้ในการรักษาสมาธิสั้นมีหลายกลุ่ม ได้แก่
• ยาในกลุ่มออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท
• ยาในกลุ่มไม่ออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท
• ยากลุ่ม Alpha 2 agonist ได้แก่ Clonidine ใช้ในเด็กสมาธิสั้นที่มีโอกาสเกิดโรคกล้ามเนื้อกระตุกร่วมด้วย หรือในเด็กที่มีอาการซน หุนหันพลันแล่น หงุดหงิดง่าย หรือมีอารมณ์โกรธรุนแรง รวมถึงเด็กที่มีปัญหาการนอน
• ยาต้านเศร้า เช่น Bupropion ใช้ในเด็กที่สมาธิสั้นที่อาจมีปัญหาอื่นร่วมด้วย เช่น ซึมเศร้า กระวนกระวาย อารมณ์แปรปรวน
ที่สำคัญพ่อแม่จะต้องมีความอดทน ให้เวลา ให้ความรัก ความอบอุ่น แก่เด็กสมาธิสั้น โดยจะต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในครอบครัว มีทัศนคติและให้แรงเสริมในเชิงบวกอยู่เสมอ มองเห็นคุณค่าในสิ่งเล็ก ๆ ที่เด็กทำ ก็จะช่วยทำให้เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นสามารถปรับพฤติกรรมได้อย่างเหมาะสม หากอยากเห็นพัฒนาการของลูกที่ดีขึ้น ลองส่งลูกมาเข้าคอร์สที่สถาบัน BrainFit Studio เพรามีหลักสูตรที่รองรับและพัฒนาเด็กที่มีอาการสมาธิสั้นโดยเฉพาะ